![รู้จักกับระบบสี RGB และ CMYK รวมถึงวิธีการเลือกใช้งานเพื่อให้เหมาะกับงานออกแบบสำหรับสื่อสิ่งพิมพ์และสื่อออนไลน์](http://www.octopus.co.th/cdn/shop/articles/RGB-vs-CMYK-mode-illustrator-photoshop-setting-print-107966.jpg?v=1611329836&width=1100)
“สี” ในกราฟิก RGB vs CMYK ต่างกันอย่างไร
Unthika Roekwibunsiเรื่องของสีเป็นองค์ประกอบที่มีความสำคัญยิ่งสำหรับนักออกแบบทั้งสำหรับสื่อสิ่งพิมพ์และสื่อออนไลน์ ระบบใหญ่ ๆ ที่ควรรู้จักเลือกใช้งาน (RGB vs CMYK)
นั่นคือ ซึ่งนอกจากกราฟิกดีไซน์เนอร์จะต้องรู้จักการเลือกใช้สี โทน ไล่ระดับ ต้องทราบเทคนิคว่าสีไหนควรใช้ด้วยกัน ควรนำมาตัดกัน หรือสีไหนที่เป็นสีต้องห้าม ไม่ควรนำมาใช้ด้วยกันอย่างเด็ดขาด เพื่อให้งานที่ออกมาดูสวยงาม สะดุดตา ถูกใจลูกค้า และสิ่งสำคัญอีกหนึ่งอย่างที่นักออกแบบมือใหม่จะต้องทราบก็คือเรื่องโหมดสี (Color Mode) 2 โหมดหลัก ๆ ที่ใช้ในงานสื่อออนไลน์และโหมดสีที่ใช้ในระบบงานพิมพ์ (ออฟเซต อิงค์เจ็ท ดิจิตอล) เป็นระบบสีที่ต่างกัน วันนี้เราจึงจะพาคุณไปรู้จักกับระบบสี RGB และ CMYK รวมถึงวิธีการเลือกใช้งานเพื่อให้เหมาะกับงานออกแบบด้านต่าง ๆ กัน
![Color Mode RGB CMYK แตกต่างกันอย่างไร กำหนด ออกแบบกราฟิก ให้พิมพ์สวย คมชัด](https://cdn.shopify.com/s/files/1/0098/2653/3433/files/RGBCMYK.webp?v=1699758277)
- RGB
- สีหลักและการผสมสี สี RGB จะมีสีหลักอยู่ด้วยกันทั้งหมด 3 สี คือสีแดง (Red) เขียว (Green) และน้ำเงิน (Blue) หลักการผสมสีจะเป็นการผสมสีแบบบวกคือการเพิ่มสีอื่นเข้าไปจนเกิดเป็นสีใหม่ ๆ ที่แสดงผลให้เราเห็นในหน้าจอมอนิเตอร์ ซึ่งเมื่อผสมสีและไล่ระดับความสว่างของสีด้วยหน้าจอมินิเตอร์ออกมาเรียบร้อยแล้วจะมีสีให้เลือกทั้งสิ้น 16,777,216 สี
- ข้อดีและข้อเสีย สี RGB เป็นสีที่สามารถเลือกใช้งานได้ง่ายโดยเฉพาะการออกแบบสำหรับแสดงผลทางหน้าจอคอมพิวเตอร์ สามารถเซฟไฟล์เพื่อนำไปใช้ในหน้าเว็บไซต์ได้ทันที และสามารถแปลงไฟล์เป็น CMYK สำหรับสื่อสิ่งพิมพ์โปสเตอร์, ใบปลิว ได้ แต่สีที่ได้จะเพี้ยน และคุณภาพไม่ดีเท่าที่ควรเนื่องจากไฟล์ RGB มักจะถูกลดทอนให้ไฟล์เล็กแสดงผลได้เร็วในหน้าจอ แต่มักละเอียดไม่พอไปใช้ในงานพิมพ์อิงค์เจ็ท งานพิมพ์ป้ายขนาดใหญ่แล้ว
- การใช้งาน ระบบสี RGB เป็นระบบสีที่เหมาะกับการใช้งานในสื่อออนไลน์และสื่อดิจิตอลต่าง ๆ ได้แก่ สื่อที่ใช้นำเสนอในหน้าจอมอนิเตอร์ จอโทรทัศน์ สมาร์ทโฟน ทั้งผ่านทางอินเตอร์เน็ต เว็บไซต์ หรือการเซฟไฟล์มาในรูปแบบของ CD และ DVD ไฟล์ต่าง ๆ
- CMYK
- สีหลักและการผสมสี สี CMYK เป็นระบบสีที่ประกอบด้วยสีหลักจำนวน 4 สี คือ สีฟ้าอมเขียวcyanสีแดงอมม่วง (magenta) สีเหลือง(yellow) และสีดำ (Black) การผสมสีจะเป็นการผสมแบบลบ คือการดูดกลืนแสงที่สะท้อนจากวัตถุ ซึ่งสีบางส่วนจะถูกดูดกลืนไว้ และสีบางสีจะถูกสะท้อนออกมา ซึ่งเมื่อไล่ระดับสีโดยจุดเม็ดสีของเครื่องพิมพ์ออกมาเรียบร้อยแล้วจะมีสีที่เกิดขึ้นให้เลือกทั้งหมด 1 ล้านสี เป็นเปอร์เซ็นต์ตั้งแต่ 0-100 ไล่จากสีขาวไปจนถึงสีดำ
- ข้อดีและข้อเสีย เป็นสีที่มีความคมชัดสูงโดยเฉพาะเหมาะเป็นอย่างยิ่งสำหรับงานพิมพ์ และการออกแบบส่งโรงพิมพ์ต่าง ๆ แต่ต้องเลือกกระดาษที่นำมาใช้พิมพ์ให้เหมาะสม ไม่เช่นนั้นสีที่ได้จะทึบและไม่สวยงามเท่าที่ควร รวมถึงหมึกพิมพ์ชนิดนี้จะมีราคาค่อนข้างสูง
- การใช้งาน ระบบสี CMYK เป็นระบบสีที่เหมาะสำหรับงานพิมพ์ ได้แก่ โปสเตอร์, ใบปลิว, ป้ายไวนิล, ป้ายบิลบอร์ด, แมกกาซีน, นามบัตร, แผ่นพับ, โบรชัวร์ และสื่อสิ่งพิมพ์ชนิดต่าง ๆ
เมื่อเห็นเปรียบเทียบรูปเดียวกันซ้ายกับขวา จะเห็นได้ว่าสีสด ๆ จี๊ด ๆ จะแสดงผลได้ดีเมื่อเราเลือกใช้ RGB Mode ส่วนสีทางขวาซึ่งเป็น CMYK จะแสดงผลให้ใกล้เคียงความเป็นจริง ๆ ของงานพิมพ์มากที่สุด
โดยเฉพาะเมื่อเรากำลังทำงานในโหมด CMYK นั้น เราอาจจะต้องระวังการเลือกใช้สีมากขึ้น เพราะไม่เช่นนั้นแล้วเราอาจจะกำลังใช้สีที่ไม่ได้พิมพ์ได้จริง เมื่อดูจากจออาจจะดู Artwork เราสวยงามแต่ทำไมพิมพ์ออกหม่นเพี้ยนตุ่นหมอง นั่นก็เป็นเพราะว่าเรายังไม่ได้ดูเรื่องขอบเขตของสีที่พิมพ์ได้ให้ดีพอ (CMYK Gamut) ใน Illustrator Photoshop จะมี Function เตือนเรื่อง Gamut อยู่แล้ว เราก็สามารถนำมาใช้ช่วยเราได้
กล่าวโดยสรุปคือโหมด RGB เหมาะสำหรับทำกราฟิกออกแบบแบนเนอร์ใช้งานแสดงผลที่จอคอมพิวเตอร์ จอมือถือ โดยมักจะเน้นให้ไฟล์เล็กกระชับสีสวยสด ใช้ความละเอียดที่ 72 DPI ขึ้นไปเซฟไฟล์เป็น JPEG, PNG, GIF, smallest file PDF ขนาดเล็ก ๆ เพื่อให้โหลดไม่เปลืองค่าเน็ต โหลดได้เร็ว
ส่วนโหมด CMYK เหมาะสำหรับทำกราฟิกใช้แสดงผลผ่านงานพิมพ์ โดยเน้นที่ไฟล์ใหญ่ละเอียด คมชัด สีสันตรงตามโปรไฟล์ที่กำหนด ใช้ความละเอียดที่ 300DPI ขึ้นไป เซฟไฟล์เป็น AI, PSD, EPS, TIF, Highest Quality PDF ขนาดใหญ่ที่ไม่ลดทอนคุณภาพ เพื่อให้รายละเอียดแบนเนอร์ออกมาครบถ้วนที่สุด
ถ้าเราเอาไปใช้สลับกัน ไฟล์ดูจอก็จะใหญ่หนักสีตุ่นไม่สวย ไฟล์พิมพ์ก็จะแตกสีเพี้ยน
ดังนั้นเมื่อทราบความแตกต่างของระบบสีกัน 2 ระบบแล้ว เชื่อว่านักออกแบบคงจะทราบวิธีการเลือกระบบสีเพื่อให้เหมาะกับงานและปิดงานในขั้นตอนสุดท้ายได้อย่างง่ายดายยิ่งขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งนักออกแบบ Artwork สำหรับพิมพ์โปสเตอร์, ใบปลิว, ป้ายไวนิล ที่ต้องส่งโรงพิมพ์ควรตั้งค่าสีเป็นระบบ CMYK ไว้ตั้งแต่แรกเพื่อป้องกันสีผิดเพี้ยนและเพื่อให้ได้งานออกมามีคุณภาพสูง ถูกใจลูกค้า วิธีการเซตตั้งค่าเมื่อเปิดไฟล์ใหม่ใน Adobe Photoshopo หรือ Adobe Illustrator ให้เลือกโหมดให้ถูกต้องได้เลยจาก Properties ตามภาพ
![Color Mode RGB CMYK แตกต่างกันอย่างไร กำหนด ออกแบบกราฟิก ให้พิมพ์สวย คมชัด](https://cdn.shopify.com/s/files/1/0098/2653/3433/files/Color_Mode_PS.webp?v=1699758678)
![Color Mode RGB CMYK แตกต่างกันอย่างไร กำหนด ออกแบบกราฟิก ให้พิมพ์สวย คมชัด](https://cdn.shopify.com/s/files/1/0098/2653/3433/files/Color_Mode_AI.webp?v=1699758711)
นอกจากนี้ สำหรับผู้ที่ออกงานพิมพ์ที่มีองค์ประกอบเป็นสีดำใน Artwork ที่ออกแบบเยอะนั้น แนะนำให้ระวังอย่างมากเพื่อป้องกันปัญหาสีดำเพี้ยน อ่านต่อ
รับออกแบบกราฟิก ตรวจสอบแก้ไขไฟล์งานของท่านให้สีสด คนชัดสวยงาม ดูแลได้ทั้งงาน Digital Ad (RGB) และงาน Print Ad (CMYK) ติดต่อได้เลย บริษัท ออคโทพุส มีเดีย โซลูชันส์ มั่นใจเราได้เพราะคือ "ทีมการตลาดของคุณ" 081-776-8329 หรือ LINE ID: @OctopusDesign
ติดตามชมผลงานของแต่ละแผนกของบริษัทเราได้ที่ fb.com/OctopusMediaSolutions